โครงการ “พลเมือง” กับความรับผิดชอบต่อสังคม (TU100)
1. ชื่อสถาบันผู้เสนอโครงการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา
3. วัตถุประสงค์
- ให้นักศึกษาพัฒนาตนเองให้เป็น “พลเมือง” ตามระบอบประชาธิปไตย ในทุกระดับ ตั้งแต่พลเมืองของมหาวิทยาลัย พลเมืองของชุมชน พลเมืองของสังคม พลเมืองของประเทศไทย และพลเมืองโลก
- ให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงตนเองกับสังคม เห็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็น “พลเมือง” หรือ “กาลัง” ของ “เมือง” ในการร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโดยเริ่มต้นที่ตัวเอง (โดยเฉพาะปัญหาการทุจริต)
- สร้าง Civil Society หรือ “สังคมพลเมือง” ให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และในสังคมไทย
4. ลักษณะกิจกรรม
เป็นการศึกษาโดยมุ่งผลลัพธ์ (Outcome – based Education) โดยนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student – Centred) และใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม (Activity – based Learning) การเรียนรู้โดยสัมผัสปัญหา (Problem – Based Learning) และการลงมือแก้ปัญหาด้วยการทาโครงงาน (Project - based Learning) ที่เป็นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ของความซื่อสัตย์สุจริต ต่อต้านการทุจริต คอรัปชั่น
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ใช้กระบวนการกลุ่มย่อย โดยแบ่งนักศึกษาเป็นห้องๆ ละ 50 คน อาจารย์ 1 คน ต่อนักศึกษา 1 ห้อง โดยอาจารย์จะทาหน้าที่เป็น “วิทยากรกระบวนการ” ที่ใช้เครื่องมือและกระบวนการแบบเดียวกัน
- ใช้ “กิจกรรม” ในการทาให้นักศึกษาพัฒนาตนเองให้มีความเป็น “พลเมือง” ตามระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่การเคารพกติกา เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพหลักความเสมอภาค พึ่งตนเองได้ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ให้นักศึกษาสัมผัสกับปัญหาที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวและปัญหาในสังคม โดยมีการให้ลงพื้นที่ให้สัมผัสปัญหา ทั้งปัญหาในมหาวิทยาลัย ปัญหาของชุมชนที่อยู่รอบๆ มหาวิทยาลัย และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในสังคม
- หลังจากสัมผัสปัญหาแล้ว จะให้นักศึกษาได้ “คิด” วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและความเกี่ยวข้องกับนักศึกษา และให้ลงมือปฏิบัติว่าด้วยการทา “โครงงาน” แก้ปัญหา โดยแบ่งเป็นโครงงานในมหาวิทยาลัยและโครงงานในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย โดยจะมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะโครงงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต การซื่อสัตย์ต่อตนเอง การไม่ทุจริตในเรื่องต่างๆ เช่น ไม่ทุจริตการสอบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการส่งเสริมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
- หลังทาโครงงานเสร็จจะมีการนาเสนอ “ผล การทาโครงงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันข้ามห้อง และการสรุปการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองให้เป็น “พลเมือง” ด้วยตัวนักศึกษาเอง
- สุดท้ายจะเป็นการสรุปการเรียนรู้ และประเมินผลว่านักศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มีความเป็น “พลเมือง” มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องต่อไป